ผลงานทางวิชาการการศึกษา เรื่องที่ 629 วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 116 ท่าน
ผู้ชมขณะนี้ 7
ท่าน
คลิกอ่านผลงานอื่น ๆ
รูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน
1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 57 โรงเรียน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ด้วยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 228 คน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) สร้างความตระหนักและรับรู้ (Awareness: A1) 2) นำสู่เจตคติที่สร้างสรรค์ (Attitude: A2) 3) มุ่งมั่นการปฏิบัติ (Action: A3) 4) เด่นชัดผลสัมฤทธิ์(Achievement: A4) และ 5) ติดตาม และประเมินผล (Assessment: A5) และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
คลิกดาวน์โหลดดูเอกสารประกอบ.....
ผลงานโดย :
อดุลย์ ภูปลื้ม สพม พช
|